โรคมาลาเรียภัยร้ายที่มากับยุงก้นปล่อง

โรคมาลาเรียนับว่าเป็นโรคที่คุ้นหูกันมานาน หรือเรียกกันอีกชื่อว่า ไข้จับสั่นหรือไข้ป่า โดยมีพาหะนำโรคที่สำคัญคือยุงก้นปล่อง ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ในไทย ซึ่งเป็นยุงที่มีขนาดใหญ่กว่ายุงลาย มีสีน้ำตาลหรือสีดำโดยจะพบมากในพื้นที่ที่เป็นป่า และในช่วงฤดูฝนจะพบมากเป็นพิเศษ ช่วงเวลาออกหากินของยุงก้นปล่องจะเป็นในช่วงเวลากลางคืน

เมื่อยุงก้อนปล่องที่เป็นพาหะของโรคไข้มาลาเรีย กัดคน จะเริ่มแพร่ โดยโรคมาลาเรียมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 7-14 วัน แต่บางสายพันธุ์อาจมีระยะฟักตัวนานถึง 18-40เลยทีเดียว อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยคือ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย หน้าซีด ปากซีด ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นผิดปกติ และมีไข้ขึ้น ซึ่งอาการไข้ของโรคมาลาเรียจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน

  • ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีชีพจรเต้นเร็ว อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง ผู้ป่วยจะรู้สึกหนาวสั่นมากกว่าปกติ จะเรียกกันว่าเป็นระยะหนาว
  • ระยะที่ 2 อุณหภูมิในร่างกายจะอยู่ในช่วง 38-40องศาเซลเซียส ผิวหนังจะร้อนแดงมากกว่าปกติ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เรียกว่าเป็นระยะร้อน
  • ระยะที่ 3 อุณหภูมิในร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็ว มีเหงื่อออกมากทั่วร่างกาย และจะเข้าสู่ระยะพักของไข้

เมื่อรู้พบว่าผู้ป่วยมีอาการคล้ายที่กล่าวมาด้านบน ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะควรกินยาให้ตรงต่อเวลา เพราะโรคมาลาเรียสามารถดื้อยาได้ และส่วนมากไข้มาลาเรียจะไม่หายเอง เพราะไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัส ถ้าหากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างไข้มาลาเรียขึ้นสมอง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการทางประสาท เช่น เพ้อ ชัก หมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

วิธีป้องกันตัวเองจากโรคมาลาเรียคือการหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในป่าทึบ แต่ถ้ามีความจำเป็นจริงๆ อย่างการท่องเที่ยวแบบตั้งแคมป์ในป่า การใช้สเปรย์กันยุงนับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี โดยเฉพาะสเปรย์กันยุงที่มีสารสกัดจากธรรมชาติอย่างกานพลู เพราะกานพลูนั้นมีฤทธิ์ไล่ยุงและแมลงอื่นๆ อีกทั้งยังมีกลิ่นแบบธรรมชาติ สามารถป้องกันยุงและแมลงอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Share:

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวและกิจกรรม

สาระน่ารู้